วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบ topology

ข้อสอบ 5 ข้อปรนัย

1.ข้อใดคือข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบ Ring Topology
1. ใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
2. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่วนกลางเสียเป็นผลให้ระบบล้มเหลว
3. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียจะเป็นผลกระทบทั้งระบบ
4. ต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการติดตั้งระบบ

2.Topogogy แบบใดที่ใช้สายเคเบิลน้อยที่สุด
1. Star Topology
2. Bus Topology
3. Ring Topology
4. Mesh Topology

3.การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้สายเคเบิลร่วมกันเป็นการเชื่อมต่อแบบใด
1. Star Topology
2. Ring Topology
3. Bus Topology
4. Mesh Topology

4.การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบใดที่ข้อมูลวิ่งแบบทางเดียวบนสายสัญญษณ
1. ฺStar Topology
2. Bus Topology
3. Star-Ring Topology
4. Ring Topology

5.การแบ่งปันการใช้ข้อมูลในระบบเครือข่ายยุคแรก ๆ ใช้การบันทึกข้อมูลลงดิสก์แล้วส่งไปยังผู้ใช้รายอื่น ๆ เรียกระบบเครือข่ายแบบนี้ว่าอะไร
1. Diskette Netwrok
2. LinkerNet
3. SneakerNet
4. Topology

topology

Topology
รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node)
2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือขายต่อไป
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกันรือข่ายต่อไป
5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนักประเภทของระบบเครือข่าย Lan ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานในการแบ่งรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Lan นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่การเชื่อมต่อแบบ Peer - To - Peer และแบบ Client / Server

การจัดรูปโครงสร้างของอุปกรณ์สื่อสารเพื่อจัด ของเครื่องถัดไปงเป็นระบบเครือข่ายสามารถกระทำได้หลายแบบดังนี้
1. ระบบเครือข่ายที่แบ่งประเภทโดยพิจารณาจากการจัดโครงสร้างอุปกรณ์เป็นหลัก เรียกว่า การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology) ได้แก่ ระบบเครือข่ายแบบดาว แบบบัส และแบบวงแหวน เป็นต้น
2. ระบบเครือข่ายตามขนาดทางกายภาพของระยะทางในการส่งข้อมูลเป็นหลัก ได้แก่ เครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) เครือข่ายในเขตเมือง (MAN) เครือข่ายวงกว้าง (WAN) และเครือข่ายสหภาค (Internetwork)
3. ระบบเครือข่ายที่พิจารณาจากขอบเขตการใช้งานขององค์กร เช่น เครือข่ายอินทราเนต (Intranet) เครือข่ายเอ็กซ์ทราเนต( Extranet) และเครือข่ายสากล (Internet)การจัดรูปทรงระบบเครือข่าย (Topology)


e-Learning

e-Learning ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภายใต้ชื่อโครงการ มหาลัยไซเบอร์ไทย www.tcu.uin.net.th/tcu
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดทำรายวิชา E-learning เพื่อนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และ ผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ผู้ที่ใช้ผ่านมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสามารถใช้
user : elearningMFLU
passwordr : mflu
และทดลองเรียนด้วย
user : mflustudent
passwordr : mfl
เป็นโครงการที่เปิดโอกาศให้นักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้มาทำกิจกรรม

"e-Learining ที่เกี่ยวข้อง"

e-Learning
http://e-learning.tu.ac.th/ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://e-learning.mfu.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
http://regelearning.payap.ac.th/ มหาวิทยาลัยพายัพ
http://elearning.utcc.ac.th/lms/main/default.asp มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
http://md.rmutk.ac.th/ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
http://e-learning.kku.ac.th/ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://space.kbu.ac.th/el/index.asp มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
http://elearning.dusit.ac.th/xedu/Home.aspx มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
http://www.bsru.ac.th/~mua/regis/d_sc248.htm = มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา http://csit.aru.ac.th/content/blogcategory/0/5/ = มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำอธิบายรายวิชา เครือขายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

4122102 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

(Computer Network and Distributed)
คำอธิบายรายวิชา (Course Description) ความรู้เบื้องต้นเบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เครือข่าย การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับเทอร์มินอล ชั้นของโปรโตคอลมาตรฐาน OSI รูปแบบต่าง ๆ ของเครือข่าย X.25 เนตเวิร์คและดิจิตอลเนตเวอร์ค การประมวลผลแบบตามลำดับและแบบขนาน การไปป์ไลน์ (Pipelining) การประมวลผลแบบเวคเตอร์ (Vector Processing) การประมวลผลแบบอะเรย์ (Array Processors) มัลติโปรเซสเชอร์ (Multiprocessor) และฟอลท์โทเลอร์แรนซ์ (Fault Tolerance)

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Data Communication and Computer Network)
-แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล ส่วนประกอบของการติดต่อสื่อสารข้อมูล ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ ระเบียบวิธีการเครือข่าย มาตรฐานของเครือข่าย การวางแผนและการออกแบบระบบเครือข่าย การสื่อสารข้อมูลในชั้นของการเชื่อมต่อระหว่างระบบเปิด ระดับชั้นของการควบคุม การควบคุมการเชื่อมโยงระดับกายภาพ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
-Concepts of data communication, components of data communication, types of computer networks, local area network, network topologies, network protocal standards, network system planning and designing, data communication layers in open system interconnection: layer of control, physical link control, data communication technology.